สายตายาวเป็นภาวะแสงตกกระทบไม่ตรงจุดจอประสาทตาโดยจุดโฟกัสจะอยู่ตั้งแต่หลังจอประสาทตาเป็นต้นไป หลายคนเข้าใจผิดว่าคนสายตายาวจะมองเห็นได้ใกลกว่าคนทั่วไป แต่ความจริงคือไม่ว่าจะระยะใหนคนสายตายาวก็มองเห็นไม่ชัดอยู่ดี
สายตายาวมีสิทธิ์เกิดขึ้นกับทุกเพศทุกวัย โดยเฉพาะผู้สูงอายุที่โครงสร้างกะโหลกศีรษะเปลี่ยนไปจนรักษาสภาพรูปทรงของดวงตาไม่ได้ ซึ่งผลที่ตามมาคือจุดโฟกัสของแสงตกกระทบไม่ตรงกับจอประสาทตา แต่ในทางการแพทย์จะไม่นับผู้สูงอายุเหล่านี้เป็นผู้ป่วยสายตายาวแต่จะเรียกว่า “สายตาผู้สูงอายุ” ซึ่งภาวะสายตายาวนั้นจะใช้เรียกเฉพาะคนที่มีอายุไม่เกิน40 ปี โดยประมาณ
ปัจจัยสำคัญที่ส่งผลต่อการมองเห็นคือ “ไดออปเตอร์” ซึ่งเป็นค่าบอกถึงความสามารถในการหักเหแสง ในกรณีของดวงตานั้นหมายถึงประสิทธิภาพการปรับโฟกัส ค่าไดออปเตอร์จะเพิ่มขึ้นเมื่อถึงวัยหนุ่มสาวแล้วลดน้อยลงเมื่ออายุมากขึ้น โดยปกติมนุษย์จะมีกำลังการเพ่งสายตารวมประมาณ 63 ไดออปเตอร์
นอกจะการมองเห็นไม่ชัดแล้ว คนสายตายาวมักจะมีอาการปวดศีรษะบริเวณหน้าผากเมื่อใช้สายตามากเกินไป ประกอบกับตาไม่สู้แสง และในบางคนเวลาเพ่งไปยังวัตถุจะมีลักษณะคล้ายกับตาเขอีกด้วย
การรักษาสายตายาวทำได้หลายวิธี เช่น ผ่าตัดทำเลสิค การลอกผิวกระจกตา การผ่าตัดด้วยเลเซอร์ วิธีเหล่านี้เป็นการรักแบบหายขาดแต่ก็มีโอกาสกลับมาเป็นซ้ำ ดังนั้นหลายคนที่กลัวการผ่าตัดก็เลือกใส่แว่นสายตา และ การใส่คอนแทคเลนส์ปรับผิวกระจกตา