โรคตาขี้เกียจ หรือ แอมไบลโอเปีย หรือ โรคตามัว เป็นโรคที่พบได้เฉพาะในเด็กวัย2-3 ปีเท่านั้น ซึ่งปกติมีโอกาสน้อยมากที่จะพบโรคนี้ในเด็กที่อายุเกิน 7 ปี เพราะว่าดวงตาของมนุษย์จะมีการพัฒนาอย่างก้าวกระโดดหลังจากที่คลอดออกมาจนถึงช่วงอายุประมาณ 5 ปี ถ้าหากในช่วงเวลานี้เด็กไม่หัดใช้ดวงตาหรือมีปฏิสัมพันธ์ทางตาเพื่อกระตุ้นให้เกิดการพัฒนาก็มีโอกาศเป็นโรคนี้
โรคตาขี้เกียจนั้นยังแบ่งสาเหตุออกเป็นอีก 2 กรณี การมีดวงตาที่ผิดปกติมาตั้งแต่กำเนิดทั้ง 2 ข้างและอีกกรณีคือดวงตาผิดปกติข้างเดียว ส่วนใหญ่แล้วมักจะเป็นอาการตาเหล่ ทำให้สมองได้รับภาพจากตาทั้งสองข้างที่ไม่เหมือนกันจึงสับสน ดังนั้นสมองจึงเลือกใช้ภาพที่สมองคิดว่ามองเห็นชัดที่สุด และนี่ก็เป็นสาเหตุให้ดวงตาข้างที่มองเห็นไม่ชัดถูกลดการใช้งานไปเรื่อย ๆ จนมองเห็นภาพที่เป็น 3 มิติ เป็น 2 มิติ ซึ่งจะกลายเป็นปัญหาถ้าหากในชีวิตประจำวันต้องทำงานเกี่ยวกับงานฝีมือหรืองานที่ต้องใช้ความชำนาญในการเพ่งสายตาเป็นพิเศษ
การรักษาโรคตาขี้เกียจบางกรณีสามารถทำได้ด้วยการผ่าตัด แต่ส่วนใหญ่แล้วแพทย์มักจะเลือกวิธีกระตุ้นให้ตาข้างที่ไม่ทำงานกลับมาทำงานอีกครั้งด้วยการปิดตาที่มองเห็นชัดเจนไว้ แต่ถ้าไม่ปิดก็อาจกระตุ้นด้วยสารเคมีหรือกายภาพบำบัด แต่เพราะเป็นเด็กเล็กเลยไม่ได้รับความร่วมมือเท่าที่ควร ดังนั้นเด็กที่เกิดมาควรจะได้รับการสังเกตจากผู้ดูแลว่ามีภาวะตาขี้เกียจเกิดขึ้นหรือไม่ ถ้ามีต้องรีบพาไปพบจักษุแพทย์และเริ่มการรักษาทันที