โรคอาร์โอพีหรือภาวะจอตาผิดปกติในทารกที่คลอดก่อนกำเนิด ทารกจะมีพังผืดเกิดขึ้นหลังบริเวณแก้วตาตั้งแต่อยู่ในครรภ์ทำให้มีสภาวะสายตาเลือนราง ในกรณีที่เป็นหนักก็ถึงขั้นตาบอดสนิท ถ้าหลังคลอดแพทย์สามารถตรวจพบโรคนี้ได้อย่างรวดเร็วจะจะมีโอกาสรักษาให้เด็กสามารถมองเห็นเหมือนคนปกติแต่ถ้าสายเกินไปก็ต้องสูญเสียการมองเห็นตั้งแต่เด็ก
ถึงแม้โรคอาร์โอพีจะเริ่มก่อตัวพร้อมกับหลอดเลือดจอตาทารกตั้งแต่ที่มีอายุครรภ์16 สัปดาห์ แต่กลับกันถ้าหากทารกมีอายุครรภ์มากขึ้นเท่าไหร่ โอกาสที่จะหายจากโรคนี้ก็มากขึ้นเท่านั้น ในบางกรณีที่ทารกคลอดก่อนกำหนดมาก ๆ อาจจะมีสิทธิ์สูญเสียดวงตาตั้งแต่กำเนิด หลังจากคลอดออกมาแล้วยังมีปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้โรคนี้รุนแรงขึ้นเช่น น้ำหนักแรกเกิดน้อยเนื่องจากการเจริญเติบโตไม่สมบูรณ์ เป็นผลให้ต้องได้รับออกซิเจนเพื่อช่วยหายใจแต่ถ้าได้รับออกซิเจนมากเกินไปก็ส่งผลให้โรคนี้รุนแรงขึ้น
ปกติแล้วทารกที่คลอดก่อนกำเนิดมักจะถูกนำไปวินิจฉัยโรคอาร์โอพีอัตโนมัติซึ่งเป็นข้อบังคับของราชวิทยาลัยจักษุแพทย์ โดยจะพิจารณา 2 องค์ประกอบคือ น้ำหนักตัวและอายุครรภ์ ซึ่งกลุ่มเสี่ยงดังกล่าวยังจะต้องหมั่นมาพบแพทย์เพื่อให้วินิจฉัยตั้งแต่หลังคลอดไปจนถึงอีกประมาณ 33 สัปดาห์ โดยการรักษามีหลายวิธีเช่น การผ่าตัด การใช้สารเคมี การจี้บริเวณที่เป็นด้วยความเย็น โรคนี้เป็นโรคที่รุนแรงมากจะต้องได้รับการรักษาเร็วที่สุดเท่าที่ทำได้ที่หลังจากตรวจพบ ถึงแม้จะรักษาแล้วยังมีโอกาสที่จะเป็นโรคสายตาเอียง สายตาสั้น ตาเข ตาขี้เกียจ โรคต้อตลอดจนถึงโรคจอตาหลุดลอกในอนาคต
โรคหนังตากระตุก
โรคหนังตากระตุกหรือโรคตากะปริบเป็นภาวะที่มีการกระพริบตาบ่อยแบบรุนแรง การกระพริบจะเกิดขึ้นเองโดยควบคุมไม่ได้ บางคนที่เป็นโรคหนังตากระตุกหนักมาก ๆ จะทำให้เปลือกตาเกร็งและบดบังการมองเห็น โรคหนังตากระตุกมีสาเหตุมาจากกล้ามเนื้อรอบดวงตาทำงานผิดปกติ โดยแบ่งเป็น2 กลุ่มคือกลุ่มที่ไม่พบสาเหตุที่แน่ชัด ซึ่งประเภทนี้พบได้บ่อยมากแต่ไม่ร้ายแรง แต่ประเภทที่ 2 จะทราบสาเหตุชัดเจนที่อาจมาจาก โรคพาร์กินสัน โรคจิต โรคก้านสมองขาดเลือด ตลอดถึงผลข้างเคียงจากการใช้ยาและสารเคมี
ผู้ที่มีอาการโรคหนังตากระตุกจะมีอาการตาแพ้แสง เจ็บตา แสบตา ตาแห้ง ประกอบกับน้ำตาไหลตลอดเวลา และถ้ามีการอักเสบของดวงตาอาจจะมีอาการทางจิตร่วมด้วย ซึ่งคนที่เป็นหนักมาก ๆ จะกระพริบตาประมาณ 15 ครั้งต่อ 1 นาที ในการการกระพริบตาแต่ละครั้งเปลือกตาจะหดเกร็งอย่างรุนแรงจนบดบังทัศนวิสัยในการมองเห็นไปชั่วขณะจนอาจเป็นสาเหตุของอุบัติเหตุในกรณีที่กำลังขับรถหรือควบคุมเครื่องจักร
โรคหนังตากระตุกจะมีอาการหนักขึ้นถ้าไม่ได้รับการรักษา แต่บางคนก็มองว่าไม่ได้รบกวนการใช้ชีวิตประจำวันมากนักจึงไม่ค่อยสนใจ แต่ทางที่ดีควรจะเข้ารับการตรวจวินิจฉัยเพื่อหาสาเหตุของความผิดปกติ เพราะโรคนี้สามารถรักษาได้ด้วยการฉีดยา โบทูไลนุม ทุก ๆ 3 เดือน ในคนที่มีอาการอย่างเห็นได้ชัดอาจจะสูญเสียความมั่นใจในการใช้ชีวิตที่มีผลมาจากบุคลิกในการกระพริบตาที่ไม่ปกติ
สายตาเอียง
สายตาเอียงเกิดจากดวงตาได้รับการบาดเจ็บหรือมีพื้นผิวไม่สม่ำเสมอจนแนวแสงแต่ละจุดที่ตกกระทบผ่านเลนส์ตาหักเหไปคนละทิศทางจนแสงที่ผ่านมาถึงจอประสาทตาจะมีโฟกัสไม่ชัดเจน อาการสายตาเอียงนั้นแก้ได้ยากส่วนใหญ่แล้วมักจะเลือกแก้ไขด้วยการผ่าตัด เพราะสะดวกสบาย มีโอกาสกลับมาเป็นซ้ำต่ำ แต่คนที่ไม่อยากรับการผ่าตัดก็สามารถใช้คอนแทคเลนส์แบบสั่งทำพิเศษได้เหมือนกัน ซึ่งอาจจะสร้างความลำบากในการใช้ชีวิตประจำวันอยู่บ้าง
โรคสายตาเอียงไม่สามารถแก้ได้ด้วยการใส่แว่นตา เพราะว่าผิวของแว่นตาไม่ได้สัมผัสกับเลนส์ตาโดยตรงถึงแม้จะสามารถปรับจุดโฟกัสให้ตกกระทบบนจอประสาทตาอย่างชัดเจน แต่ภาพที่จอประสาทตารับได้ก็จะมีตำแหน่งผิดเพี้ยนไปจากปกติ ซึ่งคนที่มีสายตาเอียงแล้วเลือกใส่แว่นตาจะต้องใช้เวลาปรับตัวนานพอสมควร
คนที่มีสายตาเอียงเล็กน้อย ถ้าไม่ได้ใช้ชีวิตเกี่ยวกับการเพ่งสายตาเป็นประจำอย่างการอ่านหนังสือ พิมพ์เอกสาร ก็ไม่จำเป็นต้องรักษาเพราะสายตาสามารถปรับจุดโฟกัสให้ชัดได้ แต่อาจมีอาการเมื่อยล้าจากการใช้งานดวงตาหนัก และสำหรับคนที่เอียงมาก ๆ จะมีอาการปวดตา ปวดศีรษะ ไปจนถึงการปวดลำคอที่ต้องหันไปมองดูวัตถุให้ชัดเจนมากขึ้น
มีคนจำนวนมากที่คิดว่าตัวเองเป็นโรคสายตาสั้น จ้องมองวัตถุใกล้ ๆ เพื่อให้เห็นชัด แต่คนเหล่านี่อาจเป็นโรคสายตาเอียง เพราะทั้งสองโรคนี้มีความแตกต่างกัน ส่วนเรื่องการจ้องมองวัตถุใกล้ ๆ นั้นก็เพื่อขยายภาพของวัตถุให้ใหญ่จนมองง่ายขึ้นเท่านั้น
ต้อหิน
สายตามนุษย์จะเสื่อมสภาพไปตามวัยซึ่งมีโรคที่รุนแรงถึงขั้นสูญเสียการมองเห็นอยู่ไม่กี่อย่าง หนึ่งในนั้นคือโรคต้อหิน ซึ่งแบ่งเป็นต้อหินเรื้อรังและต้อหินเฉียบพลัน โรคต้อนั้นเป็นโรคที่รักษาไม่หายทำได้แค่เพียงชะลอเวลาให้สูญเสียการมองเห็นให้ช้าลง ผู้ป่วยจำนวนมากขาดความเข้าใจเกี่ยวกับโรคต้อหินจึงละความพยายามในการรักษาจนสุดท้ายก็ตาบอดอย่างรวดเร็ว
โรคต้อหินเรื้อรังติดต่อกันได้ผ่านทางพันธุกรรมจากรุ่นสู่รุ่น ถึงแม้ภายในวงศ์เครือญาติจะมีคนที่เคยเป็นโรคนี้เพียง1 คนในหลายสิบรุ่นผู้ที่สืบทอดสายเลือดมาก็ยังมีโอกาสเป็นโรคต้อหินอยู่ นอกจากนี้ยังมีสาเหตุมาจากโรคทางกายที่มีภาวะเรื้อรังเช่น โรคหลอดเลือดโรคหัวใจ โรคความดันโลหิตสูง โรคไขมัน เบาหวาน ตลอดถึงการใช้ยาบางชนิดที่ส่งผลต่อการทำงานของดวงตาติดต่อกันเป็นเวลานานจนในที่สุดก็กลายเป็นโรคต้อหินเรื้อรัง
ต้อหินฉับพลันเป็นโรคที่มีความรุนแรงมาก ทำให้ผู้ป่วยสูญเสียการมองเห็นไปในเวลาอันรวดเร็ว ซึ่งมีสาเหตุมาจากระบบไหลเวียนของเหลวในดวงตาทำงานผิดปกติ ทำให้ตามีความดันสูงมากจนกระจกตาได้รับความเสียหาย แต่โรคต้อหินเฉียบพลันจะเกิดขึ้นได้กับคนที่มีความผิดปกติเชิงโครงสร้างของลูกตาเท่านั้น
คนเป็นโรคต้อหินทั้งสองชนิด มักมีภาวะปวดตา ปวดศีรษะ ตาแดงและตามัว ในกรณีของโรคต้อหินเรื้อรังมีระยะเวลาประมาณ 10 ปีก่อนที่ตาจะบอดสนิท แต่สำหรับโรคต้อหินฉับพลันถ้ามีอาการแล้วได้รับการรักษาไม่ทันก็จะเสียการมองเห็นไปทันที
CRVO (Central retinal vein occlusion)
โรคซีอาร์วีโอ หรือโรคหลอดเลือดดำจอดตาอุดตัน เป็นโรคที่ไม่อันตรายในกรณีเป็นแบบไม่รุนแรง ส่วนใหญ่สามารถหายได้เอง แต่ในกรณีของผู้สูงอายุมากกว่า65 ปีก็ต้องดูแลอย่างใกล้ชิดเพราะมีโอกาสที่โรคซีอาร์วีโอจะพัฒนาไปเป็นแบบการอุดตันสมบูรณ์ จะทำให้การหมุนเวียนเลือดระหว่างในและนอกดวงตาหยุดชะงัก จนในที่สุดจอตาและเซลล์ต่าง ๆ ก็ไม่สามารถทำงานและตายไปเองในที่สุด
สำหรับการอุดตันแบบสมบูรณ์นั้น จะต้องติดตามอาการอย่างใกล้ชิด ซึ่งปกติแพทย์มักจะแนะนำให้ผ่าตัดด้วยเลเซอร์ทันทีที่ตรวจพบ เพื่อลดแรงดันภายในดวงตาและเพิ่มระดับการหมุนเวียนเลือด หลังจากที่มีอาการอุดตันนั้นผู้ป่วยมักจะเป็นโรคต้อหินตามมาในอนาคตอันใกล้
คนที่มีโอกาสเป็นโรคซีอาร์วีโอคือคนที่มีความเสี่ยงเกี่ยวกับระบบไหลเวียนเลือดเช่น ระบบโรคความดันโลหิตสูง ภาวะเลือดข้น การติดเชื้อของผนังหลอดเลือด ภาวะโปรตีนในเลือดผิดปกติ ไขมันในเลือดสูง และรวมไปถึงคนที่เป็นโรคเบาหวาน มีการใช้ยาคุมกำเนิด ยาขับปัสสาวะ
ระยะเริ่มต้นของโรคหลอดเลือดดำจอดตาอุดตันจะมีอาการตามัวฉับพลัน ส่วนใหญ่มักจะเป็นแค่ข้างเดียวแต่ก็มีโอกาสเป็นทั้งสองข้างเหมือนกัน ดังนั้นถ้าหากมีอาการควรจะรีบเข้าไปพบแพทย์เพื่อเร่งการวินิจฉัย เพราะไม่สามารถรู้ได้เลยว่าจะเป็นภาวะอุดตันแบบไหน บางรายอาจต้องผ่าตัดทันทีเพื่อลดแรงดันภายในดวงตา ถ้าหากรักษาไม่ทันการอาจจะต้องสูญเสียการมองเห็นถาวร
RRD (Rhegmatogenous retinal detachment)
โรคอาร์อาร์ดีหรือโรคจอตาหลุดลอกเป็นภาวะที่จอประสาทตาไม่อยู่ในตำแหน่งปกติเนื่องจากการฉีกขาด ความเสียหายของเนื้อเยื่อที่ทำหน้าที่ดึงรั้ง ผู้ป่วยที่มีอาการของโรคจะมองเห็นจุดสีดำขนาดเล็กไปจนถึงใหญ่ลอยไปมา และยังมองเห็นแสงวูบวาบคล้ายกับฟ้าแลบ แล้วยังมีอาการตามัวในบางเวลา ถ้าหากไม่ได้รับการรักษาทันเวลาก็จะสูญเสียการมองเห็นไปอย่างถาวร
ถ้าหากมีอาการดังข้างต้นแล้วไปพบจักษุแพทย์เพื่อวินิจฉัยก็จะทำได้หลายวิธีเช่น ตรวจความดันของเหลวในดวงตา การสังเกตจอประสาทตาโดยการกระตุ้นให้ม่านตาขยายออกเพื่อสังเกตลักษณะ และจะใช้คลื่นอัลตราซาวด์ตรวจในกรณีที่ผู้ป่วยเป็นโรคต้อหรือมีวัตถุบดบังการมองเห็น ปกติแล้วโรคนี้จะไม่เป็นพร้อมกันทั้งสองข้าง แต่เมื่อตรวจพบว่าข้างใดข้างหนึ่งเป็นก็ต้องหาทางป้องกันตาอีกข้างที่เหลืออยู่เพราะมีโอกาสสูงที่ตาอีกข้างจะเป็นโรคโรคอาร์อาร์ดีในอนาคต
การรักษาโรคนี้สามารถทำได้ด้วยวิธีการผ่าตัดเท่านั้น ซึ่งมีทั้งการผ่าตัดด้วยเลเซอร์และการผ่าตัดเพื่อปรับโครงสร้างของตาโดยตรง แต่อย่างไรก็ตามถ้าเป็นโรคนี้มานานจนอาการหนักจะมีโอกาสน้อยที่จะรักษาให้หายขาด ดังนั้นใครที่มองเห็นมองเห็นจุดสีดำ แสงวูบวาบ ตามัว ควรจะรีบเข้าไปพบจักษุแพทย์เพื่อวินิจฉัย ยิ่งตรวจพบเร็วเท่าไหร่ก็มีโอกาศรักษาให้หายขาดแล้วกลับมามองเห็นเป็นปกติมากขึ้น
มะเร็งดวงตาในเด็ก
โรคมะเร็งดวงตาในเด็กที่เป็นโรคร้ายแรงจะต้องได้รับการรักษาอย่างด่วนที่สุด ถ้าได้รับการรักษาไม่ทันเวลาสามารถทำให้เด็กคนนั้นมีตาบอดถาวรไปตลอดชีวิต
โรคมะเร็งดวงตาในเด็กหรือบางคนก็เรียกว่า โรคตาวาว โรคตาแมว ซึ่งจะพบในเด็กที่มีอายุต่ำกว่า6 ปีผู้ปกครองควรสังเกตการสะท้อนแสงของสายตาเด็กในที่มืดที่จะเห็นได้ชัดมากเด็กที่มีโรคนี้สายตาจะวาวแสง หรือสังเกตจากลักษณะการมองเห็นของเด็กที่ไม่ปกติ จะมีดวงตาเลื่อนลอยเพราะการมองไม่ค่อยเห็น
ปกติแล้วแสงที่ตกกระทบเข้าไปในดวงตาจะสะท้อนไปมาเป็นเส้นตรง ซึ่งตรงข้ามกันเด็กที่เป็นโรคมะเร็งดวงตา ซึ่งโรคนี้มีสาเหตุมาจากความผิดปกติตั้งแต่กำเนิด น้ำวุ้นในตาเสื่อมสภาพ จอตาเสื่อม การได้รับอุบัติเหตุบริเวณดวงตา การอักเสบรุนแรงเป็นหนอง การคลอดก่อนกำหนด และนอกจากนี้ยังสามารถติดต่อทางพันธุกรรมได้ โดยโรคมะเร็งดวงตาในเด็กมีโอกาสเป็นข้างเดียวหรือทั้งสองข้างก็ได้ซึ่งมีสาเหตุมาจากความผิดปกติของสารพันธุกรรมในยีนเด่น
โรคมะเร็งจอตาเป็นโรคที่พบได้บ่อยมากในเด็กเล็กอายุไม่เกิน 3 ปี ซึ่งติด 3 อันดับแรกอยู่เสมอโดยที่ค่าเฉลี่ยนี้ไม่ได้ขึ้นกับเชื้อชาติหรือว่าเพศ เพราส่วนใหญ่โรคนี้จะก่อตัวมาตั้งแต่เด็กอยู่ในครรภ์แล้ว
เมื่อแพทย์วินิจฉัยว่าเป็นโรคมะเร็งดวงตาในเด็กจะเร่งดำเนินการรักษาทันทีซึ่งมีทั้งการผ่าตัดการใช้เลเซอร์และการใช้รังสีเพื่อยับยั้งการลุกลามของมะเร็งไปยังอวัยวะอื่น ๆ ที่สำคัญเช่นไขกระดูกและสมอง