โรคมะเร็งดวงตาในเด็กที่เป็นโรคร้ายแรงจะต้องได้รับการรักษาอย่างด่วนที่สุด ถ้าได้รับการรักษาไม่ทันเวลาสามารถทำให้เด็กคนนั้นมีตาบอดถาวรไปตลอดชีวิต
โรคมะเร็งดวงตาในเด็กหรือบางคนก็เรียกว่า โรคตาวาว โรคตาแมว ซึ่งจะพบในเด็กที่มีอายุต่ำกว่า6 ปีผู้ปกครองควรสังเกตการสะท้อนแสงของสายตาเด็กในที่มืดที่จะเห็นได้ชัดมากเด็กที่มีโรคนี้สายตาจะวาวแสง หรือสังเกตจากลักษณะการมองเห็นของเด็กที่ไม่ปกติ จะมีดวงตาเลื่อนลอยเพราะการมองไม่ค่อยเห็น
ปกติแล้วแสงที่ตกกระทบเข้าไปในดวงตาจะสะท้อนไปมาเป็นเส้นตรง ซึ่งตรงข้ามกันเด็กที่เป็นโรคมะเร็งดวงตา ซึ่งโรคนี้มีสาเหตุมาจากความผิดปกติตั้งแต่กำเนิด น้ำวุ้นในตาเสื่อมสภาพ จอตาเสื่อม การได้รับอุบัติเหตุบริเวณดวงตา การอักเสบรุนแรงเป็นหนอง การคลอดก่อนกำหนด และนอกจากนี้ยังสามารถติดต่อทางพันธุกรรมได้ โดยโรคมะเร็งดวงตาในเด็กมีโอกาสเป็นข้างเดียวหรือทั้งสองข้างก็ได้ซึ่งมีสาเหตุมาจากความผิดปกติของสารพันธุกรรมในยีนเด่น
โรคมะเร็งจอตาเป็นโรคที่พบได้บ่อยมากในเด็กเล็กอายุไม่เกิน 3 ปี ซึ่งติด 3 อันดับแรกอยู่เสมอโดยที่ค่าเฉลี่ยนี้ไม่ได้ขึ้นกับเชื้อชาติหรือว่าเพศ เพราส่วนใหญ่โรคนี้จะก่อตัวมาตั้งแต่เด็กอยู่ในครรภ์แล้ว
เมื่อแพทย์วินิจฉัยว่าเป็นโรคมะเร็งดวงตาในเด็กจะเร่งดำเนินการรักษาทันทีซึ่งมีทั้งการผ่าตัดการใช้เลเซอร์และการใช้รังสีเพื่อยับยั้งการลุกลามของมะเร็งไปยังอวัยวะอื่น ๆ ที่สำคัญเช่นไขกระดูกและสมอง
โรคตาแดง
โรคตาแดงพบได้มากในเด็กเล็กเพราะมีภูมิคุ้มกันต่ำ ยิ่งอยู่ในแหล่งอัดอย่างโรงเรียนอนุบาล ศูนย์เด็กเล็กก็ยิ่งมีโอกาสติดต่อกันได้มาก ทั้งนี้ก็ต้องจำแนกให้ได้ก่อนว่าอาการที่เป็นอยู่นั้นเป็นโรคตาแดงจริงหรือว่าเป็นโรคอื่น ๆ ซึ่งพบได้บ่อย อย่าง การแพ้แสงแดด การระคายเคือง การได้รับอุบัติเหตุ การอักเสบ ถูกฝุ่นละออง การขยี้ตา แม้กระะทั่งการอดนอน
โรคตาแดงนั้นเป็นโรคที่มีระยะเวลาฟักตัวตั้งแต่1 วันถึง 2 สัปดาห์ ซึ่งจะแสดงอาการขึ้นมาแบบสุ่ม เพราะเกิดจากเชื้อไวรัสในกลุ่ม อะดีโนไวรัส และ เอนเทโรไวรัส ที่ติดต่อได้ง่ายโดยตรงจากการสัมผัส โดยเฉพาะในฤดูฝน ไวรัสเหล่านี้จะเจริญเติบโตบริเวณผิวตาขาวซึ่งเป็นต้นเหตุของอาการอักเสบระคายเคืองทำให้มีน้ำตาไหลและตาขาวมีสีแดงที่มีลักษณะเป็นจ้ำ
โรคตาแดงสามารถหายได้เองถ้ามีสภาพร่างกายแข็งแรง โดยทั่วไปจะกินเวลาประมาณ 7 ถึง 14 วันแต่ในกรณีที่เป็นหนักขึ้นเรื่อย ๆ ซึ่งมักพบในบริเวณที่อยู่อาศัยกันเป็นหมู่ โรคจะติดต่อกันวนเวียนไปมาไม่หายสักที ก็ต้องกำจัดต้นเหตุของการติดต่อยางการสัมผัสโดยตรง การอยู่ร่วมกัน ปกติแล้วในกรณีของศูนย์เด็กเล็กหรือโรงเรียนอนุบาลมักจะมีการปิดโรงเรียนเพื่อให้คนที่เป็นโรคตาแดงหายก่อน ถ้าใครที่เป็นโรคตาแดงแล้วมีอาการหนัก มีการระคายเคืองมากและอาจจะมีอาการตาพร่ามัวร่วมด้วยควรจะพบแพทย์เพื่อทำการวินิจฉัยเพราะมีโอกาสเป็นโรคต้อหินในเวลาอันใกล้
สายตาสั้น
โรคสายตาสั้นไม่เหมือนกับโรคสายตายาว เพราะคนที่สายตาสั้นจะสามารถมองเห็นวัตถุที่อยู่ในระยะใกล้ ๆ ได้ แต่ถ้าวัตถุอยู่ไกลจะมองไม่ค่อยเห็น สายตาสั้นนั้นเกิดจากแสงมีจุดโฟกัสตกกระทบก่อนถึงจอประสาทตา ทำให้แสงที่มาถึงประสาทตานั้นกลายเป็นภาพเบลอ ปกติแล้วคนเราจะมีความสามารถในการปรับระยะโฟกัสในการมองเห็นอยู่ที่63 ไดออปเตอร์หรือ 63 เมตร คนสายตาสั้นจะมีค่าไดออปเตอร์ต่ำกว่านี้ จะแตกต่างกันไปตามความรุนแรงของโรคแต่ละคน
ตั้งแต่เป็นทารกจนถึงวัยเจริญพันธุ์ ค่าไดออปเตอร์ของสายตาของมนุษย์จะมีการปรับเปลี่ยนไปมาที่ประมาณ 8 ไดออปเตอร์ คนที่มีอายุในช่วงนี้แล้วมีอาการสายตายสั้นจะแก้ได้ด้วยการใส่แว่นตาและคอนแทคเลนส์ เพราทางการแพทย์ไม่ถือว่าเป็นโรคสายตาสั้น โดยค่าไดออปเตอร์จะคงที่เมื่อถึงวัยผู้ใหญ่(อายุประมาณ 20ปี) แต่สำหรับคนสายตาสั้นค่าไดออปเตอร์จะลดต่ำลงเรื่อย ๆ ซึ่งคนที่โตเต็มที่แล้วแต่ค่าไดออปเตอร์ไม่หยุดเปลี่ยนแปลงแบบนี้เรียกว่าคนเป็นโรคสายตาสั้น
การรักษาโรคสายตาสั้นแบบถาวรก็สามารถทำได้ด้วยวิธีการ ผ่าตัดทำเลสิค การผ่าตัดด้วยเลเซอร์ แต่คนที่ไม่ต้องการผ่าตัดก็สามารถใส่แว่นสายตาหรือคอนแทคเลนส์แทนได้
คนสายตาสั้นมักจะเพ่งมองวัตถุใกล้ ๆ กับหน้าโดยเฉพาะการอ่านหนังสือ การเล่นโทรศัพท์ การดูทีวี ทำให้ประสาทตาทำงานหนักและเป็นสาเหตุของการปวดศีรษะเป็นประจำ นอกจากนี้เด็กที่เป็นสายตาสั้นยังมีโอกาสเป็นโรคกุ้งยิงมากกว่าปกติอีกด้วย
ตาบอดกลางคืน
ตาบอดกลางคืนเป็นภาวะหนึ่งที่ดวงตาไม่สามารถขยายการปรับการรับแสง ทำให้การมองเห็นในบริเวณที่มีแสงน้อยทำได้ลำบาก ซึ่งมีสาเหตุมาจากการขาดวิตามินเอ สายตาสั้นมากเกินไป จอประสาทตาเสื่อม
หลายคนคงจะรู้จักกับวิตามินเอเป็นอย่างดีซึ่งมีจุดเด่นในการบำรุงสายตาเป็นหลัก ถ้าหากขาดวิตามินเอจะทำให้เซลล์รูปแท่งที่อยู่ในดวงตาทำงานผิดปกติจนประสิทธิภาพในการมองเห็นในที่มืดลดลงอย่างมาก ปกติในปัจจุบันการขาดวิตามินเอนี้พบได้น้อยมาก ถ้าหากรับประทานอาหารแบบปกติก็ได้รับวิตามินเออย่างเพียงพอแล้ว แต่อย่างไรก็ตามบางคนที่มีความผิดปกติเกี่ยวกับการดูดซึมวิตามินหรือภาวะขาดสารอาหารก็มีโอกาสเกิดกรณีตาบอดกลางคืนจากการขาดวิตามินเอ
สายตาสั้นมาก ทำให้แสงที่ตกกระทบเข้ามาภายในเลนส์ตานั้นมีจุดโฟกัสไม่ถึงกับจอประสาทตาและยังอยู่ไกลจอประสาทตามากทำให้สมองไม่สามารถตีความภาพที่เห็นได้ และส่วนใหญ่แล้วคนที่สายตาสั้นมากจะมีการเสื่อมของเซลล์ดวงตาร่วมอยู่ด้วย
จอตาเสื่อม ก็เป็นอีกหนึ่งสาเหตุที่ทำให้มองเห็นไม่สะดวกในที่ที่มีแสงน้อย สำหรับคนที่อยู่ในภาวะนี้ส่วนมากจะพบเป็นผู้สูงอายุที่จอดตามเสื่อมไปตามวัย แต่สำหรับคนวัยเจริญพันธุ์ก็มีโอกาสมีภาวะจอตาเสื่อมเหมือนกัน ซึ่งมีสาเหตุมาจากหลายอย่างตั้งแต่อุบัติเหตุ การใช้สารเคมี ไปจนถึงได้รับสืบทอดมาตามพันธุกรรม
ภาวการณ์มองเห็นกลางคืนไม่ชัดนั้นไม่ใช่โรคที่ร้ายแรง แต่ควรจะไปพบแพทย์เพื่อวินิจฉัยว่ามีสาเหตุมาจากอะไร เชื่อได้เลยว่าหลังจากรักษาแล้วการใช้ชีวิตจะมีความสุขมากขึ้น
โรคทางตายอดฮิตที่มากับยุคดิจิตอล
การมาถึงของยุคดิจิตอลทำให้ผู้คนไม่ว่าจะวัยไหนต่างใช้งานอุปกรณ์ประจำตัวอย่างสมาร์ทโฟนเป็นประจำจนเป็นต้นเหตุของการเกิดโรคตามมาของหลาย ๆ โรคและด้วยเทรนการทำงานที่เปลี่ยนไปทำให้ผู้คนมีปฏิสัมพันธ์ได้ใช้งานคอมพิวเตอร์หรือการทำงานในลักษณะของการจับจ้องบนจอแสดงผลติดต่อกันเป็นเวลานาน ซึ่งมีชื่อเรียกกันว่าcomputer Syndrome
อาการคอมพิวเตอร์ซินโดรมส่วนใหญ่พบได้มากในหมู่พนักงานออฟฟิศ โดยเฉพาะผู้ที่มีอายุมากกว่า 40 ปีขึ้นไป ซึ่งมีสาเหตุมาจากการนั่งติดโต๊ะเป็นเวลานานไม่ค่อยได้ขยับตัวยืดเส้นยืดสาย จนมีอาการปวดเมื่อยตามต้นคอ หัวไหล่ ปวดหลัง ปวดศีรษะ และ ที่สำคัญจะมีอาการเมื่อยล้าของดวงตาจากการใช้งานหนักมากเป็นพิเศษ
โรคที่มากับยุคดิจิตอลในส่วนของร่างกายส่วนอื่น ๆ สามารถหายได้เป็นปกติโดยใช้เวลาไม่นานจากการออกกำลังกายและการพักผ่อนเพียงเล็กน้อย ร่างกายก็ฟื้นฟูกลับมามีสภาพแข็งแรงแบบเดิมแล้ว แต่สำหรับดวงตาซึ่งเป็นอวัยวะที่อ่อนแอมากที่สุดจะเสียหายได้แบบถาวร จนมีโอกาสพัฒนาไปเป็นโรคที่ร้ายแรงอย่างโรคต้อหิน โรคม่านตาอักเสบ โรคเยื่อบุตาอักเสบตลอดจนลุกลามไปยังอวัยวะใกล้เคียงได้อย่างโรคหวัดและไซนัส
หนทางที่ดีที่สุดในการป้องกันโรคที่มากับยุคดิจิตอล คือการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมไหม้เหมาะสม หมั่นขยับร่างกายไม่นั่งติดเก้าอี้นานเกินไป ไม่ว่าจะเป็นการเล่นโทรศัพท์ การใช้งานคอมพิวเตอร์ ควรจะมีท่าทางที่ถูกลักษณะ ไม่ก้ม ไม่หลังค่อมจนเป็นต้นเหตุของโรคที่กล่าวมา
โรคตาแดง
โรคตาแดงพบได้มากในเด็กเล็กเพราะมีภูมิคุ้มกันต่ำ ยิ่งอยู่ในแหล่งอัดอย่างโรงเรียนอนุบาล ศูนย์เด็กเล็กก็ยิ่งมีโอกาสติดต่อกันได้มาก ทั้งนี้ก็ต้องจำแนกให้ได้ก่อนว่าอาการที่เป็นอยู่นั้นเป็นโรคตาแดงจริงหรือว่าเป็นโรคอื่น ๆ ซึ่งพบได้บ่อย อย่าง การแพ้แสงแดด การระคายเคือง การได้รับอุบัติเหตุ การอักเสบ ถูกฝุ่นละออง การขยี้ตา แม้กระะทั่งการอดนอน
โรคตาแดงนั้นเป็นโรคที่มีระยะเวลาฟักตัวตั้งแต่1 วันถึง 2 สัปดาห์ ซึ่งจะแสดงอาการขึ้นมาแบบสุ่ม เพราะเกิดจากเชื้อไวรัสในกลุ่ม อะดีโนไวรัส และ เอนเทโรไวรัส ที่ติดต่อได้ง่ายโดยตรงจากการสัมผัส โดยเฉพาะในฤดูฝน ไวรัสเหล่านี้จะเจริญเติบโตบริเวณผิวตาขาวซึ่งเป็นต้นเหตุของอาการอักเสบระคายเคืองทำให้มีน้ำตาไหลและตาขาวมีสีแดงที่มีลักษณะเป็นจ้ำ
โรคตาแดงสามารถหายได้เองถ้ามีสภาพร่างกายแข็งแรง โดยทั่วไปจะกินเวลาประมาณ 7 ถึง 14 วันแต่ในกรณีที่เป็นหนักขึ้นเรื่อย ๆ ซึ่งมักพบในบริเวณที่อยู่อาศัยกันเป็นหมู่ โรคจะติดต่อกันวนเวียนไปมาไม่หายสักที ก็ต้องกำจัดต้นเหตุของการติดต่อยางการสัมผัสโดยตรง การอยู่ร่วมกัน ปกติแล้วในกรณีของศูนย์เด็กเล็กหรือโรงเรียนอนุบาลมักจะมีการปิดโรงเรียนเพื่อให้คนที่เป็นโรคตาแดงหายก่อน ถ้าใครที่เป็นโรคตาแดงแล้วมีอาการหนัก มีการระคายเคืองมากและอาจจะมีอาการตาพร่ามัวร่วมด้วยควรจะพบแพทย์เพื่อทำการวินิจฉัยเพราะมีโอกาสเป็นโรคต้อหินในเวลาอันใกล้
ROP (Retinopathy of Prematurity)
โรคอาร์โอพีหรือภาวะจอตาผิดปกติในทารกที่คลอดก่อนกำเนิด ทารกจะมีพังผืดเกิดขึ้นหลังบริเวณแก้วตาตั้งแต่อยู่ในครรภ์ทำให้มีสภาวะสายตาเลือนราง ในกรณีที่เป็นหนักก็ถึงขั้นตาบอดสนิท ถ้าหลังคลอดแพทย์สามารถตรวจพบโรคนี้ได้อย่างรวดเร็วจะจะมีโอกาสรักษาให้เด็กสามารถมองเห็นเหมือนคนปกติแต่ถ้าสายเกินไปก็ต้องสูญเสียการมองเห็นตั้งแต่เด็ก
ถึงแม้โรคอาร์โอพีจะเริ่มก่อตัวพร้อมกับหลอดเลือดจอตาทารกตั้งแต่ที่มีอายุครรภ์16 สัปดาห์ แต่กลับกันถ้าหากทารกมีอายุครรภ์มากขึ้นเท่าไหร่ โอกาสที่จะหายจากโรคนี้ก็มากขึ้นเท่านั้น ในบางกรณีที่ทารกคลอดก่อนกำหนดมาก ๆ อาจจะมีสิทธิ์สูญเสียดวงตาตั้งแต่กำเนิด หลังจากคลอดออกมาแล้วยังมีปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้โรคนี้รุนแรงขึ้นเช่น น้ำหนักแรกเกิดน้อยเนื่องจากการเจริญเติบโตไม่สมบูรณ์ เป็นผลให้ต้องได้รับออกซิเจนเพื่อช่วยหายใจแต่ถ้าได้รับออกซิเจนมากเกินไปก็ส่งผลให้โรคนี้รุนแรงขึ้น
ปกติแล้วทารกที่คลอดก่อนกำเนิดมักจะถูกนำไปวินิจฉัยโรคอาร์โอพีอัตโนมัติซึ่งเป็นข้อบังคับของราชวิทยาลัยจักษุแพทย์ โดยจะพิจารณา 2 องค์ประกอบคือ น้ำหนักตัวและอายุครรภ์ ซึ่งกลุ่มเสี่ยงดังกล่าวยังจะต้องหมั่นมาพบแพทย์เพื่อให้วินิจฉัยตั้งแต่หลังคลอดไปจนถึงอีกประมาณ 33 สัปดาห์ โดยการรักษามีหลายวิธีเช่น การผ่าตัด การใช้สารเคมี การจี้บริเวณที่เป็นด้วยความเย็น โรคนี้เป็นโรคที่รุนแรงมากจะต้องได้รับการรักษาเร็วที่สุดเท่าที่ทำได้ที่หลังจากตรวจพบ ถึงแม้จะรักษาแล้วยังมีโอกาสที่จะเป็นโรคสายตาเอียง สายตาสั้น ตาเข ตาขี้เกียจ โรคต้อตลอดจนถึงโรคจอตาหลุดลอกในอนาคต