โรคมะเร็งดวงตาในเด็กที่เป็นโรคร้ายแรงจะต้องได้รับการรักษาอย่างด่วนที่สุด ถ้าได้รับการรักษาไม่ทันเวลาสามารถทำให้เด็กคนนั้นมีตาบอดถาวรไปตลอดชีวิต
โรคมะเร็งดวงตาในเด็กหรือบางคนก็เรียกว่า โรคตาวาว โรคตาแมว ซึ่งจะพบในเด็กที่มีอายุต่ำกว่า6 ปีผู้ปกครองควรสังเกตการสะท้อนแสงของสายตาเด็กในที่มืดที่จะเห็นได้ชัดมากเด็กที่มีโรคนี้สายตาจะวาวแสง หรือสังเกตจากลักษณะการมองเห็นของเด็กที่ไม่ปกติ จะมีดวงตาเลื่อนลอยเพราะการมองไม่ค่อยเห็น
ปกติแล้วแสงที่ตกกระทบเข้าไปในดวงตาจะสะท้อนไปมาเป็นเส้นตรง ซึ่งตรงข้ามกันเด็กที่เป็นโรคมะเร็งดวงตา ซึ่งโรคนี้มีสาเหตุมาจากความผิดปกติตั้งแต่กำเนิด น้ำวุ้นในตาเสื่อมสภาพ จอตาเสื่อม การได้รับอุบัติเหตุบริเวณดวงตา การอักเสบรุนแรงเป็นหนอง การคลอดก่อนกำหนด และนอกจากนี้ยังสามารถติดต่อทางพันธุกรรมได้ โดยโรคมะเร็งดวงตาในเด็กมีโอกาสเป็นข้างเดียวหรือทั้งสองข้างก็ได้ซึ่งมีสาเหตุมาจากความผิดปกติของสารพันธุกรรมในยีนเด่น
โรคมะเร็งจอตาเป็นโรคที่พบได้บ่อยมากในเด็กเล็กอายุไม่เกิน 3 ปี ซึ่งติด 3 อันดับแรกอยู่เสมอโดยที่ค่าเฉลี่ยนี้ไม่ได้ขึ้นกับเชื้อชาติหรือว่าเพศ เพราส่วนใหญ่โรคนี้จะก่อตัวมาตั้งแต่เด็กอยู่ในครรภ์แล้ว
เมื่อแพทย์วินิจฉัยว่าเป็นโรคมะเร็งดวงตาในเด็กจะเร่งดำเนินการรักษาทันทีซึ่งมีทั้งการผ่าตัดการใช้เลเซอร์และการใช้รังสีเพื่อยับยั้งการลุกลามของมะเร็งไปยังอวัยวะอื่น ๆ ที่สำคัญเช่นไขกระดูกและสมอง
เบาหวานกับดวงตา
โรคเบาหวานเป็นโรคที่มีคนเป็นจำนวนมาก ถูกจัดอยู่ในอันดับต้น ๆ ที่มีความอันตรายต่อชีวิตของผู้ป่วย ซึ่งเบาหวานเป็นต้นเหตุให้ร่างกายทำงานผิดปกติ ภูมิคุ้มกันต่ำ ตลอดถึงระบบเนื้อเยื่อ ระบบไหลเวียนเลือดที่มีการทำงานด้อยประสิทธิภาพอย่างเห็นได้ชัด โดยเฉพาะดวงตาที่เป็นอวัยวะที่อ่อนแอที่สุดของร่างกายก็ได้รับผลกระทบจากโรคเบาหวานเช่นกัน ซึ่งกรณีร้ายแรงอาจถึงขั้นตาบอดถาวร
ถึงแม้การแพทย์ปัจจุบันจะก้าวหน้ามาก มีทั้งเทคโนโลยีและยาเคมีสำหรับการรักษาโรคเบาหวาน แต่การรักษาโรคนี้ให้หายขาดต้องอาศัยความมีระเบียบวินัยของผู้ป่วยในการปฏิบัติตามข้อบังคับยิบย่อยต่าง ๆ ซึ่งโรคเบาหวานสามารถลุกลามและสร้างความเสียหายให้กับดวงตาได้ หลายคนอาจจะเรียกว่าโรคเบาหวานขึ้นตา
เบาหวานขึ้นตาจะเป็นสาเหตุให้ดวงตามีการอักเสบ การเป็นอัมพาตของดวงตาแบบถาวร แล้วพัฒนาไปเป็นโรคต้อกระจกและต้อต้อหิน ซึ่งเกิดจากการติดเชื้อบริเวณผิวดวงตาที่ไวต่อสารก่อภูมิแพ้และร่างกายมีภูมิคุ้มกันต่ำจากโรคเบาหวานทำให้ไม่สามารถกำจัดเชื้อโรคออกไปได้ ถ้าหากผู้ป่วยควบคุมระดับน้ำตาลในกระแสเลือดให้อยู่ในระดับปลอดภัยไม่ได้อาการของดวงตาก็จะแย่ลงเรื่อย ๆ ซึ่งปกติแล้วเบาหวานขึ้นตามักจะไม่แสดงอาการในระยะเริ่มแรก กว่าจะวินิจฉัยโรคได้ก็ลุกลามไปมากในระดับหนึ่งแล้ว
ผู้ที่ป่วยเป็นเบาหวานขึ้นตานั้นมักจะมีอาการเริ่มแรกคือ ตามัวแล้วมองเห็นภาพเบี้ยวในกรณีที่เป็นหนักมากขึ้น ดังนั้นคนที่เป็นโรคเบาหวานควรจะรับการตรวจดวงตาประจำปีอยู่เสมอ ประกอบกับควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดให้อยู่ในเกณฑ์ปกติเพื่อลดโอกาสตาบอดถาวร
โรคหนังตากระตุก
โรคหนังตากระตุกหรือโรคตากะปริบเป็นภาวะที่มีการกระพริบตาบ่อยแบบรุนแรง การกระพริบจะเกิดขึ้นเองโดยควบคุมไม่ได้ บางคนที่เป็นโรคหนังตากระตุกหนักมาก ๆ จะทำให้เปลือกตาเกร็งและบดบังการมองเห็น โรคหนังตากระตุกมีสาเหตุมาจากกล้ามเนื้อรอบดวงตาทำงานผิดปกติ โดยแบ่งเป็น2 กลุ่มคือกลุ่มที่ไม่พบสาเหตุที่แน่ชัด ซึ่งประเภทนี้พบได้บ่อยมากแต่ไม่ร้ายแรง แต่ประเภทที่ 2 จะทราบสาเหตุชัดเจนที่อาจมาจาก โรคพาร์กินสัน โรคจิต โรคก้านสมองขาดเลือด ตลอดถึงผลข้างเคียงจากการใช้ยาและสารเคมี
ผู้ที่มีอาการโรคหนังตากระตุกจะมีอาการตาแพ้แสง เจ็บตา แสบตา ตาแห้ง ประกอบกับน้ำตาไหลตลอดเวลา และถ้ามีการอักเสบของดวงตาอาจจะมีอาการทางจิตร่วมด้วย ซึ่งคนที่เป็นหนักมาก ๆ จะกระพริบตาประมาณ 15 ครั้งต่อ 1 นาที ในการการกระพริบตาแต่ละครั้งเปลือกตาจะหดเกร็งอย่างรุนแรงจนบดบังทัศนวิสัยในการมองเห็นไปชั่วขณะจนอาจเป็นสาเหตุของอุบัติเหตุในกรณีที่กำลังขับรถหรือควบคุมเครื่องจักร
โรคหนังตากระตุกจะมีอาการหนักขึ้นถ้าไม่ได้รับการรักษา แต่บางคนก็มองว่าไม่ได้รบกวนการใช้ชีวิตประจำวันมากนักจึงไม่ค่อยสนใจ แต่ทางที่ดีควรจะเข้ารับการตรวจวินิจฉัยเพื่อหาสาเหตุของความผิดปกติ เพราะโรคนี้สามารถรักษาได้ด้วยการฉีดยา โบทูไลนุม ทุก ๆ 3 เดือน ในคนที่มีอาการอย่างเห็นได้ชัดอาจจะสูญเสียความมั่นใจในการใช้ชีวิตที่มีผลมาจากบุคลิกในการกระพริบตาที่ไม่ปกติ
โรคตาขี้เกียจ
โรคตาขี้เกียจ หรือ แอมไบลโอเปีย หรือ โรคตามัว เป็นโรคที่พบได้เฉพาะในเด็กวัย2-3 ปีเท่านั้น ซึ่งปกติมีโอกาสน้อยมากที่จะพบโรคนี้ในเด็กที่อายุเกิน 7 ปี เพราะว่าดวงตาของมนุษย์จะมีการพัฒนาอย่างก้าวกระโดดหลังจากที่คลอดออกมาจนถึงช่วงอายุประมาณ 5 ปี ถ้าหากในช่วงเวลานี้เด็กไม่หัดใช้ดวงตาหรือมีปฏิสัมพันธ์ทางตาเพื่อกระตุ้นให้เกิดการพัฒนาก็มีโอกาศเป็นโรคนี้
โรคตาขี้เกียจนั้นยังแบ่งสาเหตุออกเป็นอีก 2 กรณี การมีดวงตาที่ผิดปกติมาตั้งแต่กำเนิดทั้ง 2 ข้างและอีกกรณีคือดวงตาผิดปกติข้างเดียว ส่วนใหญ่แล้วมักจะเป็นอาการตาเหล่ ทำให้สมองได้รับภาพจากตาทั้งสองข้างที่ไม่เหมือนกันจึงสับสน ดังนั้นสมองจึงเลือกใช้ภาพที่สมองคิดว่ามองเห็นชัดที่สุด และนี่ก็เป็นสาเหตุให้ดวงตาข้างที่มองเห็นไม่ชัดถูกลดการใช้งานไปเรื่อย ๆ จนมองเห็นภาพที่เป็น 3 มิติ เป็น 2 มิติ ซึ่งจะกลายเป็นปัญหาถ้าหากในชีวิตประจำวันต้องทำงานเกี่ยวกับงานฝีมือหรืองานที่ต้องใช้ความชำนาญในการเพ่งสายตาเป็นพิเศษ
การรักษาโรคตาขี้เกียจบางกรณีสามารถทำได้ด้วยการผ่าตัด แต่ส่วนใหญ่แล้วแพทย์มักจะเลือกวิธีกระตุ้นให้ตาข้างที่ไม่ทำงานกลับมาทำงานอีกครั้งด้วยการปิดตาที่มองเห็นชัดเจนไว้ แต่ถ้าไม่ปิดก็อาจกระตุ้นด้วยสารเคมีหรือกายภาพบำบัด แต่เพราะเป็นเด็กเล็กเลยไม่ได้รับความร่วมมือเท่าที่ควร ดังนั้นเด็กที่เกิดมาควรจะได้รับการสังเกตจากผู้ดูแลว่ามีภาวะตาขี้เกียจเกิดขึ้นหรือไม่ ถ้ามีต้องรีบพาไปพบจักษุแพทย์และเริ่มการรักษาทันที
โรคต้อกระจก
โรคต้อมีหลายชนิดมีทั้งต้อลม ต้อเนื้อ ต้อหินเรื้อรัง แต่วันนี้จะมาพูดถึงโรคต้อกระจก ซึ่งเป็นโรคที่ไม่ค่อยอันตรายเท่าไหร่เมื่อเทียบกับโรคต้อหิน ผู้ที่เป็นโรคต้อกระจกจะมีลักษณะแก้วตาสีขุ่นที่เกิดจากเนื้อแก้วตาเสื่อมจนขัดขวางไม่ให้แสงส่องกระทบเข้าไปจนถึงจอประสาทตา โรคนี้พบได้บ่อยในผู้สูงอายุเกิน60 ปีขึ้นไป ปกติแล้วมีสาเหตุมาจากอายุที่มากขึ้นหรือเรียกว่าเป็นโรคชราก็ได้ แต่ก็มีสาเหตุจากโรคม่านตาอักเสบเรื้อรัง การได้รับบาดเจ็บบริเวณดวงตาโดยตรง การใช้ยาในกลุ่มสเตียรอยด์ การขาดสารอาหารในวัยเด็ก และนอกจากนี้ถ้าหากมารดาเป็นโรคหัดเยอรมันในช่วงตั้งครรภ์ทารก 3 เดือนแรกจะทำให้ทารกที่เกิดมาเป็นโรคต้อกระจกตั้งแต่เกิดอีกด้วย
สาเหตุที่ต้อกระจกทำให้การมองเห็นแย่ลงเกิดจากแก้วตาเปลี่ยนสภาพจนบังแสงสว่าง ดังนั้นเมื่ออยู่ในสถานที่ ๆ มีแสงจ้ารูม่านตาจะหดตัวลงทำให้รับแสงได้น้อยกว่าเดิม ตรงข้ามกับกรณีที่อยู่ในที่มืดสลัวคนที่เป็นโรคต้อกระจกจะมองเห็นได้ชัดมากขึ้นเพราะม่านตาขยายรับแสงได้ดี
โรคต้อกระจกไม่ใช่โรคร้ายแรง ถ้ามีอาการตาแดง ปวดตา โดยเฉพาะนัยน์ตามีสีขุ่นควรจะไปพบแพทย์ เมื่อพบแล้วแพทย์ก็จะรักษาประคองอาการโดยการให้ยาบางชนิดแล้วกลับไปใช้ชีวิตแบบปกติและรอจนกระทั่งต้อกระจกพัฒนาไปอยู่ในขั้นที่เรียกว่าต้อสุขเต็มที่ก็จะมาผ่าตัดลอกต้อ ซึ่งหลังจากลอกต้อแล้วก็จะกลับมามองเห็นได้เหมือนเดิม