สายตาสั้น

โรคสายตาสั้นไม่เหมือนกับโรคสายตายาว เพราะคนที่สายตาสั้นจะสามารถมองเห็นวัตถุที่อยู่ในระยะใกล้ ๆ ได้ แต่ถ้าวัตถุอยู่ไกลจะมองไม่ค่อยเห็น สายตาสั้นนั้นเกิดจากแสงมีจุดโฟกัสตกกระทบก่อนถึงจอประสาทตา ทำให้แสงที่มาถึงประสาทตานั้นกลายเป็นภาพเบลอ ปกติแล้วคนเราจะมีความสามารถในการปรับระยะโฟกัสในการมองเห็นอยู่ที่63 ไดออปเตอร์หรือ 63 เมตร คนสายตาสั้นจะมีค่าไดออปเตอร์ต่ำกว่านี้ จะแตกต่างกันไปตามความรุนแรงของโรคแต่ละคน
ตั้งแต่เป็นทารกจนถึงวัยเจริญพันธุ์ ค่าไดออปเตอร์ของสายตาของมนุษย์จะมีการปรับเปลี่ยนไปมาที่ประมาณ 8 ไดออปเตอร์ คนที่มีอายุในช่วงนี้แล้วมีอาการสายตายสั้นจะแก้ได้ด้วยการใส่แว่นตาและคอนแทคเลนส์ เพราทางการแพทย์ไม่ถือว่าเป็นโรคสายตาสั้น โดยค่าไดออปเตอร์จะคงที่เมื่อถึงวัยผู้ใหญ่(อายุประมาณ 20ปี) แต่สำหรับคนสายตาสั้นค่าไดออปเตอร์จะลดต่ำลงเรื่อย ๆ ซึ่งคนที่โตเต็มที่แล้วแต่ค่าไดออปเตอร์ไม่หยุดเปลี่ยนแปลงแบบนี้เรียกว่าคนเป็นโรคสายตาสั้น
การรักษาโรคสายตาสั้นแบบถาวรก็สามารถทำได้ด้วยวิธีการ ผ่าตัดทำเลสิค การผ่าตัดด้วยเลเซอร์ แต่คนที่ไม่ต้องการผ่าตัดก็สามารถใส่แว่นสายตาหรือคอนแทคเลนส์แทนได้
คนสายตาสั้นมักจะเพ่งมองวัตถุใกล้ ๆ กับหน้าโดยเฉพาะการอ่านหนังสือ การเล่นโทรศัพท์ การดูทีวี ทำให้ประสาทตาทำงานหนักและเป็นสาเหตุของการปวดศีรษะเป็นประจำ นอกจากนี้เด็กที่เป็นสายตาสั้นยังมีโอกาสเป็นโรคกุ้งยิงมากกว่าปกติอีกด้วย

Leave a Reply